กระเทียม เป็น พืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ เนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะ ใบยาว แบน ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ ดอกสีขาวอมเขียว หรืออมชมพูม่วง ใช้หัวปลูก ชอบอากาศเย็นและดินร่วนซุยกระเทียมช่วยป้องกันเชื้อโรคทุกชนิด รวมทั้งเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะด้วย มีหลักฐานพบว่า มีการใช้กระเทียมรักษาและป้องกันโรคมาหลายพันปีแล้ว พบว่ากระเทียมช่วยทำให้เลือดดี สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและล้างสารพิษ ปริมาณที่ควรบริโภคเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันคือ 1,000-1,500 มิลลิกรัม ซึ่งอาจใช้เป็นรูปกระเทียมสด กระเทียมสกัด กระเทียมผงได้ กระเทียมมีสารอัลลิซิน (alliein) ซึ่งเมื่อผสมกับก๊าซออกซิเจนแล้ว จะได้สารประกอบถึง 100 กว่าชนิด ที่ทำปฏิกิริยาได้ทันที (active compounds)
จากการศึกษาก็ยังพบว่า กระเทียม ไม่ว่าจะอยู่ในรูป สด แห้ง น้ำมัน หรือปรุงแต่งแล้ว เช่นผ่านกระบวนการ aged นั้น ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น กระเทียมสามารถต้านการรวมตัวของเลือด(antiaggregative) ลดสลายปริมาณ คอเลสเตอรอลและ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และสารที่เป็นพิษต่อตับ จากการทดลองโดยใช้สัตว์ทดลองพบว่า กระเทียม สามารถต้านการเกิดเนื้องอก (tumor formation) และการค้นพบที่สำคัญยิ่งคือมีรายงานว่ากระเทียม ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด เอ็นเค (Natural killer , NK) ทำหน้าที่ได้ดีมากขึ้น กระเทียมยังส่งเสริมการทำงานของเซลล์แม็คโครเฟ็จ(macrophage) และเซลล์ลิมโฟซัยท์(lymphocytes) ซึ่งเซลล์นี้ทำหน้าที่สำคัญในการเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ การทดลองใช้กระเทียม แคลปซูลชนิดที่เรียกว่าไคโอลิค (Kyolic) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของชาวญี่ปุ่น ได้พบว่าทำให้ปฏิกิริยาของเซลล์ NK เพิ่มขึ้น 156 %
ขณะที่กระเทียมสดธรรมดาเพิ่มปฏิกิริยาได้ 140% แต่ราคากระเทียมสดในประเทศไทยถูกกว่ามากเราจึงน่าใช้กระเทียมสดมากกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ควรกินกระเทียมสดวันละ 7- 10 กลีบในรูปการใช้ผสมกับอาหารต่างๆ รวมทั้งน้ำจิ้ม คนไทยมีอาหารที่มีกระเทียมสดเป็นส่วนผสมหลายอย่าง เช่น ขนมจีนซาวน้ำ มีกระเทียมสด ขิง และสับปะรด การกินร่วมกันนอกจากอร่อยถูกปากแล้ว สับปะรดยังสามารถดับกลิ่นกระเทียมได้ด้วย วิธีกินให้พออาจใช้วิธีผสมกันระหว่างการกินกระเทียมสดประมาณ 2 กลีบ และในรูปอื่นที่ทำให้สุกหรือดองแล้วอีกสัก 4 – 5 กลีบเป็นต้น การดองกระเทียมในน้ำส้มและน้ำผึ้งเป็นที่นิยม มีประโยชน์และหาซื้อได้ง่ายสาระสำคัญที่พบในกระเทียม นอกจากสารอัลลิซิน (alliein) และ อัลลิอิน (Alliin)ซึ่งทำให้กระเทียม มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ นอกจากนั้นยังมีสารประกอบอื่นๆ ที่มีประโยชน์อีกได้แก่
1.ซีเลเนียม (Selenium) เป็นสารป้องกันที่ไม่ให้เนื้อเยื้อถูกทำลาย (Anti-oxidant)
2.วิตามินบี1 ช่วยให้ระบบประสาทและสมองทำงานดีขึ้น
3.สารไดอัลลิน ไดซัลไฟต์ (Diallyl Disulfide) มีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุการเกิดอาการท้องเสีย
4.สารเกลือแร่ที่พบในกระเทียมคือ เจอร์มาเนียม(Germanium) มีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือด
5.สารกลูโคไคนิน (Glucokinin) ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
6.อัลลิซิน(allicin) มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อราประเภท Candida albicans ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคันและตกขาวที่ช่องคลอดอีกประการหนึ่งที่ใช้ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ คือ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด เยื้อจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล ภูมิแพ้ (Anti-allergy)
มีคนจำนวนมากที่ใช้กระเทียมในการรักษาโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ดีขึ้นอย่างเห็นผลจากประสบการณ์ ของตัวผมเองในช่วงหนึ่งที่ผมทำงานเป็นประธานชมรมแสงเทียนเพื่อชีวิต ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผมต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ จำนวนมาก ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้จะเป็นวัณโรคอยู่ จำนวนมาก ผมก็รับประทานกระเทียมทุกวัน เป็นการป้องกันวัณโรคไว้ก่อน ซึ่งก็ได้ผลดีมาก แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียการกินกระเทียนร่วมกับยาต้านไวรัสบางตัวพร้อมๆกันไม่ได้ เพราะจะทำให้ยาต้านไวรัสได้ผลน้อยลงถ้าคุณประสบปัญหาเหล่านี้เป็นประจำ-ระดับโคเลสเตอรอนในเลือดสูง-ตกขาว-อ่อนเพลีย เวียนศีรษะบ่อยๆ-ระดับน้ำตาลในเลือดสูง-เป็นหวัดบ่อยๆ-ภูมิแพ้กระเทียมอาจทำให้คุณลืมปัญหาเหล่านี้ได้แต่ในทางกลับกัน สมุนไพรย่อมมีทั้งคุณและโทษ เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างในโลกย่อมมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนั้นก่อนใช้กระเทียมอย่างจริงจัง คุณควรศึกษาก่อนว่า กรณีห้ามใช้มีดังนี้- ไม่ควรใช้กระเทียมในขณะใช้ยาต้านการรวมตัวของเลือด(Anticoagulants)-ไม่ควรใช้ก่อนรับการผ่าตัด อาจทำให้เลือดออกมากว่าปกติ-ไม่ควรใช้หากใช้ยาป้องกันการขาดน้ำตาลในเลือด(Hyproglycemic drugs)เราลองมารวมประโยชน์ของกระเทียมดูกันอีกครั้งแล้วกันนะครับ
1.กระเทียมช่วยรักษาระดับโคเลสเตอรอลในเลือดให้เป็นปกติ
2.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา และ ไวรัส
3.ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น และป้องกันไม่ให้เลือดเกาะตัวเป็นก้อน อุดตันหลอดเลือด เหมาะกับผู้สูบบุหรี่ หรือดื่มสุราจัด คนอ้วน หรือผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
4.ช่วยขจัดสารพิษต่างๆ ออกจากร่างการ โดยขับออกทางอุจจาระ
5.กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ เช่นโรค หวัด เยื่อจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล ภูมิแพ้
6.เป็นยาขับลมช่วยบรรเทาอาการเสียดท้อง(Colic) ท้องอืด (Flatulance)
7.ลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมการทำงานของตับอ่อน ในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon)
8.ลดอันตรายจากอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ ป้องกันโรคหัวใจและมะเร็งเมื่อคุณได้รู้ทั้งคุณและโทษของกระเทียมแล้วลองพิจารณาดูนะครับว่า กระเทียมมีคุณสมบัติตรงกับตัวคุณในข้อไหนบ้างครับ
สรรพคุณและวิธีใช้
ในยาแผนโบราณใช้กระเทียมเป็นยาบำบัดอาการไอ แก้ไข้หวัด แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยย่อย แก้ความดันสูง เส้นเลือดเปราะ แก้โรคท้องเสีย ขับลม และขับเหงื่อ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ของกระเทียมในด้านการรักษา ได้แก่ การช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่ม HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด พบว่ากระเทียมช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรควัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยด์ และคออักเสบได้ มีสารต้านมะเร็ง เช่น สาร S-allylmercaptocysteine ลดการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมาก (50%) ช่วยเพิ่มความจำ และช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน สาร allyl sulfides ช่วยลดการผลิตเอนไซม์ phase 1 ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ และนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็ง จึงป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งได้ดีเยี่ยมสารนี้ในกระเทียมจะมีขึ้นเมื่อทุบให้แตกก่อนแล้ววางไว้ 10 นาทีก่อนจะนำไปใช้ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเกิดโรคเสื่อมต่างๆ และโรคของหลอดเลือด ผู้ป่วยเบาหวาน มะเร็ง และเอดส์น่าใช้ประจำ ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (กินวันละ 5-7 กลีบ) และใช้ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล วันละ 2 กลีบ)
ในยาแผนโบราณใช้กระเทียมเป็นยาบำบัดอาการไอ แก้ไข้หวัด แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยย่อย แก้ความดันสูง เส้นเลือดเปราะ แก้โรคท้องเสีย ขับลม และขับเหงื่อ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ของกระเทียมในด้านการรักษา ได้แก่ การช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่ม HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด พบว่ากระเทียมช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรควัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยด์ และคออักเสบได้ มีสารต้านมะเร็ง เช่น สาร S-allylmercaptocysteine ลดการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมาก (50%) ช่วยเพิ่มความจำ และช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน สาร allyl sulfides ช่วยลดการผลิตเอนไซม์ phase 1 ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ และนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็ง จึงป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งได้ดีเยี่ยมสารนี้ในกระเทียมจะมีขึ้นเมื่อทุบให้แตกก่อนแล้ววางไว้ 10 นาทีก่อนจะนำไปใช้ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเกิดโรคเสื่อมต่างๆ และโรคของหลอดเลือด ผู้ป่วยเบาหวาน มะเร็ง และเอดส์น่าใช้ประจำ ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (กินวันละ 5-7 กลีบ) และใช้ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล วันละ 2 กลีบ)
ข้อควรระวัง
ไม่ควรกินกระเทียมขณะท้องว่างเพราะอาจระคายเคือง เกิดคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องได้ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ควรงดรับประทานสัก 3- 4 วัน เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายและหยุดไหลช้ากว่าปกติ มารดาที่ให้นมลูก หากกินมากเกินไปอาจทำให้ลูกเป็นโรคร้องสามเดือน (Colic)
หมายเหตุ
ต้นกระเทียม ปลูกแล้วถอนมาใช้ตั้งแต่ยังไม่เป็นหัว ส่วน Leeks เป็นกระเทียมอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งต้นใหญ่กว่า กินต้นและใบได้ มีโพเลท 30 % มีเหล็ก และวิตามินซีอย่างละ 20% Aged garlic ผลิตโดยเทคนิคใหม่ของญี่ปุ่น ช่วยลดกลิ่นและสารอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออก แต่มีสารเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย โดยเสริมการทำงานของเซลล์ macrophages เซลล์ T-lymphocyte และ การสร้างแอนติบอดี มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ต่อมาพบว่ากระเทียมสด แห้ง และสกัด ล้วนมีประโยชนเช่นเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น