เรื่องของ "กล้วยๆ"


กล้วยเป็นอาหารที่ปรุงได้ทั้งคาวและหวาน นอกเหนือจากการกินผลสุกเป็นผลไม้ ทว่าสิ่งที่มาควบคู่กับความอร่อยนั้นยังมีทั้งคุณค่าทางโภชนาการ และคุณสมบัติในการรักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย

คนโบราณใช้กล้วยเป็นพืชสมุนไพรในการรักษาโรคมานานแล้ว โดยใช้ทั้งผลกล้วย และเปลือกกล้วยให้เป็นประโยชน์ อาทิ กาบกล้วย ใช้ทาแก้โรคผมร่วง หัวล้าน ใบกล้วย รากกล้วย กาบกล้วยนำมาต้มน้ำเป็นยาดื่มช่วยลดไข้บรรเทาอาการปวดหัว เปลือกกล้วยใช้ทาแก้แมลงกัด และผื่นคัน เป็นต้น ผลกล้วยทั้งดิบและสุก ก็นำมาใช้รักษาโรคได้มากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร อาทิ กล้วยน้ำว้าดิบ นำมาหั่นบางๆ ตากให้แห้ง บดผสมกับน้ำผึ้ง ใช้แก้โรคกระเพาะได้

คนที่ท้องผูก ควรเลือกกินกล้วยสุก เพราะมีสารแพ็กตินกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ไม่ควรกินกล้วยดิบ เพระมีสารแทนนิน ซึ่งจะทำให้ท้องผูกมากขึ้น แต่ถ้าท้องเสียควรกินกล้วยดิบ โดยนำมาเผาไฟให้สุกก่อนกิน

โรคเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่อักเสบ ก็ควรกินกล้วยสุก เพราะช่วยเคลือบผนังลำไส้ และช่วยเพิ่มกากกระตุ้นลำไส้ให้ทำงาน

โรคเกี่ยวกับความดันโลหิต กล้วยมีโปแตสเซียม สูงมากในขณะที่มีเกลือต่ำ ทำให้มันเป็นผลไม้ที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการกับความดันเลือด มันให้ผลดีขนาดที่ว่าองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายอมให้โรงงานผลิตกล้วยกล่าวอ้างได้ว่ากล้วยช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตได้

ยุงกัด ก่อนที่จะไปหยิบเอายาทายุงกัดมาใช้ ลองเอาผิวด้านในของเปลือกกล้วยมาถูๆบริเวณที่ยุงกัดดู หลายคนพบว่ามันช่วยลดอาการบวมและคันได้อย่างไม่น่าเชื่อ

โรคท้องผูก กล้วยมีไฟเบอร์สูงช่วยให้ลำไส้ใหญ่ของเรากลับมาทำงานได้เป็นปกติโดยไม่ต้องพึ่งพาพวกยาถ่ายต่างๆอีกต่อไป

อาการแฮงค์ (เมาค้าง) หนึ่งในวิธีรักษาอาการแฮงค์ให้เร็วที่สุดก็คือการกิน Banana milkshake ผสมน้ำผึ้ง กล้วยช่วยให้กระเพาะอาหารของเรากลับมาอยู่ในสภาพปกติน้ำผึ้งช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และนมจะช่วยเพิ่มน้ำให้กับร่างกายของคุณได้ด้วย
อาการเจ็บเสียดหน้าอก กล้วยช่วยให้เกิดปฏิกริยาในร่างกายที่จะไปหักล้างพวกกรดในกระเพาะอาหารที่มีเยอะเกินไปได้ (กรดพวกนี้แหละที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บเสียดที่หน้าอก) การกินกล้วยจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดนี้ได้
Eng :
Banana is the common name for a type of fruit and also the herbaceous plants of the genus Musa which produce this commonly eaten fruit. They are native to the tropical region of Southeast Asia. Bananas are likely to have been first domesticated in Papua New Guinea.[1] Today, they are cultivated throughout the tropics.[2]
Banana plants are of the family Musaceae. They are cultivated primarily for their fruit, and to a lesser extent for the production of fibre and as ornamental plants. As the banana plants are normally tall and fairly sturdy they are often mistaken for trees, but their main or upright stem is actually a pseudostem (literally "fake stem"). For some species this pseudostem can reach a height of up to 2–8 m, with leaves of up to 3.5 m in length. Each pseudostem can produce a bunch of yellow, green or even red bananas before dying and being replaced by another pseudostem.
The banana fruit grow in hanging clusters, with up to 20 fruit to a tier (called a hand), and 3–20 tiers to a bunch. The total of the hanging clusters is known as a bunch, or commercially as a "banana stem", and can weigh from 30–50 kg. The fruit averages 125 g, of which approximately 75% is water and 25% dry matter content. Each individual fruit (known as a banana or 'finger') has a protective outer layer (a peel or skin) with a fleshy edible inner portion. Both skin and inner part can be eaten raw or cooked. Western cultures generally eat the inside raw and throw away the skin while some Asian cultures generally eat both the skin and inside cooked. Typically, the fruit has numerous strings (called 'phloem bundles') which run between the skin and inner part. Bananas are a valuable source of vitamin B6, vitamin C, and potassium.
Bananas are grown in at least 107 countries.[3] In popular culture and commerce, "banana" usually refers to soft, sweet "dessert" bananas. The bananas from a group of cultivars with firmer, starchier fruit are called plantains. Bananas may also be cut and dried and eaten as a type of chip. Dried bananas are also ground into banana flour.
Although the wild species have fruits with numerous large, hard seeds, virtually all culinary bananas have seedless fruits. Bananas are classified either as dessert bananas (meaning they are yellow and fully ripe when eaten) or as green cooking bananas. Almost all export bananas are of the dessert types; however, only about 10–15% of all production is for export, with the United States and European Union being the dominant buyers.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น